หน้าเว็บ

Lecture


การพัฒนาเว็บไซต์

จัดระบบโครงสร้างข้อมูล(Information Architecture)
         การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี
ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บดังนั้น
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล
คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนด


เป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น
นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ


Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)

1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง

Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา

Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site
Structure)

6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน



Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual
Design)

9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย

Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production
& Operation)

11. ลงมือพัฒนาเว็บ
12. เปิดเว็บไซท์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง



&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ระบบเนวิเกชั่น
ความสำคัญของระบบเนวิเกชั่น
การออกเเบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบเนวิเกชั่นเป็น
ส่วนเสริมในการสร้างสิ่งเเวดล้อมที่สื่อความหมายเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัว
โดยไม่หลงทาง โดยทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้างเเละ
ควรจะไปไหนต่อ
รูปแบบของระบบเนวิเกชั่น เเบ่งออกเป็น 4รูปแบบ
1.ระบบเนวิเกชั่นเเบบลำดับขั้น
เป็นเเบบพื้นฐาน คือ มีหน้าโฮมเพจหนึ่งหน่าเเละมีลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ภายในเว็บถือเป็บลำดับ
ขั้นอย่างหนึง่เเล้ว
2.ระบบเนวิเกชั่นเเบบโกลบอล
เป็นระบบที่ช่วยเสริมข้อจำกัดของระบบเนวิเกชั่นเเบบลำดับขั้น ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้ง
ในเเนวตั้งเเละเเนวนอนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบเนวิเกชั่นเเบบโลคอล
สำหรับเว็บที่มีความซับซ้อนมากอาจต้องใช้ระบบเเบบโลคอลหรือเเบบเฉพาะส่วน
4. ระบบเนวิเกชั่นเฉพาะที่
เป็นเเบบเฉพาะที่ตามความจำเป็นของเนื้อหาซึ่งก็คือลิงค์ของคำที่ฝั่งอยู่ในประโยค เเต่ไม่ควร
ใช้มากจนเกินไป เพราะผู้ใช้อาจ มองข้ามไปทำให้ไม่สนใจ
องค์ประกอบของระบบเนวิเกชันหลัก
ระบบเนวิเกชันที่สำคัญและพบมากที่สุด คือเนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา  ไม่ใช่เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าแรกเนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บแล้ว  ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ต่อ มีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชันบาร์, เนวิเกชันระบบเฟรม, pull down menu,pop up menu, image map และsearch box
เนวิเกชันบาร์ 
ระบบเนวิเกชันบาร์เป็นพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบลำดับขั้น แบบโกลบอล  และแบบโลคอล โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ ที่อยู่  รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ อาจเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิก ก็ได้ 
วิเกชันบาร์ระบบเฟรม
คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้สามารถแสดงเว็บหลาย ๆ หน้าในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน  โดยแต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน การลิงค์เฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผล  ของข้อมูลอีกเฟรมหนึ่งได้ ส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดู  ข้อมูลใด ๆ ในอีกเฟรมหนึ่ง การแยกระบบเนวิเกชันแบบนี้ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้  ตลอดเวลาและยังคงความสม่ำเสมอทั่วทั้งไซท์ 
Pull Down Menu
เป็นส่วนประกอบของฟอร์มที่มีลักษณะเด่นคือ มีรายการให้เลือกมากมายแต่ใช้พื้นที่น้อย  เมื่อเทียบองค์ประกอบชนิดอื่น ๆ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เลือกรายการย่อยเข้าไปสู่เป้าหมาย  ได้อย่างสะดวกเมนูแบบนี้เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทเดียวกันที่มีจำนวนมาก  เช่น รายชื่อประเทศ จังหวัด หรือ ภาษา แต่ไม่เหมาะกับข้อมูลจำนวนน้อยหรือข้อมูลต่างประเภทกันและไม่ควรใช้pull down menu มากจนเกินไป
 Pop Up Menu
เป็นเมนูอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะคล้าย Pull downmenu แต่รายการย่อยของเมนูจะปรากฏขึ้นเองเมื่อผู้ใช้นำเมาส์ไปวางเหนือตำแหน่งของรายการในเมนูหลัก จากนั้นผู้ใช้ก็สามารถเลื่อนเมาส์ไปเลือกรายการต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นได้ วิธีนี้ช่วยให้หน้าเว็บดูไม่รกเกินไปด้วยลิงค์จำนวนมากและยังช่วยประหยัดพื้นที่แสดงรายการย่อยของเมนูได้

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ออกแบบเพื่อผู้ใช้



ตัวอย่างเป้าหมายของเว็บทั่วไป

ได้แก่ 

-เพิ่มรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการอย่างสมบูรณ์ 

-สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง 
-โปรโมทสินค้าหรือบริการ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง 
-ลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์หรือการโฆษณา 

 -เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่  เพื่อขยายฐานลูกค้า 
-ลดปริมาณโทรศัพท์ ในการตอบคำถามลูกค้า 

-สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน


ทำไมผู้ใช้จึงอยากเข้ามาในเว็บคุณ

การรวมความต้องการของหน่วยงานเข้ากับความต้องการของผู้ใช้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ของเว็บไซต์และเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดเนื้อหาและฟีเจอร์ต่างๆ ของเว็บต่อไป


ความต้องการของหน่วยงานV.S.ความต้องการของผู้ใช้

       เว็บท่า : ต้องการรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในเว็บของตนเพื่อเป็นศูนย์กลางความบันเทิง ข่าวสาร และสาระต่างๆ  ขณะที่ผู้ใช้อาจต้องการเพียงเข้าไปค้นหาลิงค์ ของเว็บที่สนใจ  เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์เหล่านั้น เว็บ
       ธุรกิจ : ต้องการปรับตำแหน่งของบริษัทให้มี ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น โดยอาศัยการออกแบบที่สวยงามและเน้นถึงกลยุทธ์ใหม่ของบริษัท ขณะที่ผู้ใช้อาจไม่ สนใจสิ่งเหล่านั้น ต้องการเพียงข้อมูลของสินค้าเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น